กรุณาเลือก อุปกรณ์เคลื่อนที่ | แสดงผลรูแบบคอมพิวเตอร์
ดู: 854|ตอบ: 1

✖ วิทยาศาสตร์พิสูจน์ "ความจริง" ไม่ได้ ✖

[คัดลอกลิงก์]
 
 มีนามว่าRin_Thida 
 สมาชิกคนที่115 
 เพศ 
 ระดับการอ่าน90 
กระทู้ 
 ค่าประสบการณ์ 
 ทอง 
 ชื่อเสียง 
 ออนไลน์ 

คุณยังไม่ได้ใช้เหรียญ
กรุณาคลิกที่นี่เพื่อใช้เหรียญ

Willy (R)
Willy
     
โพสต์เมื่อ 2022-2-17 02:41:56 | แสดงโพสต์ทั้งหมด |โหมดอ่าน
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Rin_Thida เมื่อ 2022-2-17 03:02

เหมือนเป็นเรื่องเล็ก แต่แท้จริงเป็นเรื่องใหญ่ . . . .


i. เนื้อหาหลัก : การพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์

ปัญหาของวิทยาศาสตร์ที่สำคัญคือ "ไม่มีทางพิสูจน์ว่าสิ่งใดคือความจริง"
มนุษย์ไม่มีทางรู้ว่าความรู้ใดเป็นความจริง สิ่งเดียวที่ทำได้คือการพิสูจน์เท็จ ตัดสิ่งที่ไม่ใช่ความจริงออกทีละอย่างแล้วสรุปว่าสิ่งที่เหลือน่าจะเป็นความจริง

หากต้องการพิสูจน์จริงว่า "โลหะนำไฟฟ้า" จะต้องทำอย่างไรบ้าง คำตอบคือต้องทดลองการนำไฟฟ้าของโลหะทุกชิ้น ทุกชนิด ทุกสถานะ ทุกสถานที่ และทุกเวลาตั้งแต่จักรวาลเริ่มต้นจนสิ้นสุด นั่นเป็นการทดลองที่เป็นไปไม่ได้ในทางปฏิบัติ สิ่งที่พอทำได้คือการทดลองภายใต้สถานการณ์พิเศษ แล้วอนุมาน (ขยายผล) ว่าสถานการณ์ทั่วไปก็น่าจะเป็นดังการทดลองนั้นด้วย จุดอ่อนใหญ่ที่สุดของการอนุมานคือถ้ามีคนค้นพบโลหะที่ไม่นำไฟฟ้าแม้แต่ชิ้นเดียว (พิสูจน์เท็จ) ประโยคโลหะนำไฟฟ้าจะเป็นเท็จทันที

วิทยาศาสตร์ไม่ใช่ความรู้แต่เป็นวิธีการค้นหาความรู้ เมื่อค้นพบข้อมูลใหม่ที่ขัดแย้งกับข้อมูลเดิมจะเกิดทฤษฎีใหม่เพื่ออธิบายปรากฏการณ์ได้ครอบคลุมมากขึ้น ทฤษฎีเก่าจะถูกลดความน่าเชื่อถือลง หลักการนี้มาจากข้อจำกัดที่ไม่สามารถพิสูจน์จริงได้

ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ต้องมีคุณสมบัติพิสูจน์เท็จได้ กล่าวคือสามารถออกแบบวิธีพิสูจน์เท็จได้ (สำรวจหรือทดลองซ้ำได้) โดยไม่เกี่ยวว่าความรู้นั้นเป็นเท็จหรือไม่ ถ้าความรู้นั้นเป็นจริงเมื่อทำการพิสูจน์เท็จจะไม่พบว่าเป็นเท็จ แต่ถ้าความรู้ใดไม่มีคุณสมบัติการพิสูจน์เท็จจะเรียกว่า "วิทยาศาสตร์เทียม (pseudoscience)" เช่น ประโยค "ผีมีจริง" ไม่สามารถออกแบบการเก็บข้อมูลเพื่อพิสูจน์เท็จได้ ในทางตรงข้ามก็ไม่สามารถหาหลักฐานมายืนยันว่าผีมีจริงได้ ดังนั้นจึงไม่ใช่ความรู้ทางวิทยาศาสตร์

ตัวอย่างผีมีจริงอาจดูเหมือนว่าใครก็ดูออก แต่ในโลกความจริงมีวิทยาศาสตร์เทียมที่เนียนมากจนคล้ายวิทยาศาสตร์แท้ หากแต่เมื่อพยายามพิสูจน์เท็จจะมีข้อจำกัดบางอย่างที่ไม่สามารถทำได้ เช่น อ้างทฤษฎีครอบจักรวาลที่กล่าวอย่างไรก็ไม่มีวันผิด หรืออ้างสิ่งที่ไม่สามารถเก็บข้อมูลได้ หรืออ้างผู้เชี่ยวชาญเล่ามา ผู้รับสารควรใช้วิจารณญาณก่อนเชื่อว่าสิ่งใดเป็นวิทยาศาสตร์แท้หรือวิทยาศาสตร์เทียม เพื่อไม่ตกเป็นเหยื่อของผู้ไม่หวังดีที่แอบอ้างวิทยาศาสตร์เป็นเครื่องมือ


อ่านต่อที่ความคิดเห็นที่ 1 . . . .


คะแนน

จำนวนผู้เข้าร่วม 1FAME +1 ย่อ เหตุผล
Cookiez + 1 มา+ให้เป็นกำลังใจเค่อะ

ดูบันทึกคะแนน

 
 มีนามว่าRin_Thida 
 สมาชิกคนที่115 
 เพศ 
 ระดับการอ่าน90 
กระทู้ 
 ค่าประสบการณ์ 
 ทอง 
 ชื่อเสียง 
 ออนไลน์ 

คุณยังไม่ได้ใช้เหรียญ
กรุณาคลิกที่นี่เพื่อใช้เหรียญ

Willy (R)
Willy
     
 เจ้าของ| โพสต์เมื่อ 2022-2-17 02:42:35 | แสดงโพสต์ทั้งหมด
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Rin_Thida เมื่อ 2022-2-17 12:47

ii. เนื้อหาเสริม : การพิสูจน์ทางคณิตศาสตร์

การพิสูจน์เท็จเป็นวิธีที่ใช้ในการค้นหาความรู้ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ แต่การพิสูจน์ทางคณิตศาสตร์มีมากกว่าการพิสูจน์เท็จ การพิสูจน์ทางคณิตศาสตร์มี 5 วิธี ดังนี้

1. การพิสูจน์ทางตรง (direct proof) คือการใช้กฎหรือคำนิยามมาพิสูจน์โดยตรง วิธีนี้อธิบายความเป็นเหตุเป็นผลได้ชัดเจนที่สุด ถ้าสามารถทำได้ควรพิสูจน์ด้วยวิธีนี้



2. การพิสูจน์แบบกลับฝั่งตรงข้าม (contrapositive) คือการสลับเหตุเป็นผล สลับผลเป็นเหตุ และเปลี่ยนค่าความจริงของเหตุและผล หากต้องการพิสูจน์ P → Q ให้กลับเป็น ¬Q → ¬P ถ้ากลับฝั่งแล้วเป็นจริงแสดงว่าประโยคตั้งต้นเป็นจริง วิธีนี้เหมาะกับโจทย์ที่พิสูจน์ทางตรงยากแต่กลับฝั่งแล้วพิสูจน์ง่ายขึ้น



3. การพิสูจน์แบบขัดแย้ง (contradiction) คือการสมมติให้ประโยคตั้งต้นเป็นเท็จ ถ้าพิสูจน์โดยมองว่าประโยคตั้งต้นเป็นเท็จแล้วได้ค่าเท็จแสดงว่าขัดแย้งกันเอง ดังนั้นประโยคตั้งต้นเป็นจริง หากต้องการพิสูจน์ P → Q ให้เปลี่ยนเป็น ¬(P → Q) ถ้า ¬(P → Q) เป็นเท็จแล้ว P → Q เป็นจริง วิธีนี้มักใช้เมื่อไม่สามารถใช้สองวิธีแรกได้



4. การพิสูจน์โดยยกตัวอย่างเท็จ (counter example) คือการค้นหาตัวอย่างที่เป็นเท็จได้อย่างน้อยหนึ่งตัวอย่าง ประโยคตั้งต้นจะเป็นเท็จทันที วิธีนี้มีข้อจำกัดคือต้องอาศัยประสบการณ์และความพยายามของผู้พิสูจน์ อีกทั้งถ้าประโยคตั้งต้นเป็นจริงจะไม่สามารถค้นหาตัวอย่างที่เป็นเท็จได้



5. การพิสูจน์แบบจำแนกกรณี (exhaustion) คือการจำแนกเป็นกรณีแล้วพิสูจน์ทุกกรณี ถ้าทุกกรณีเป็นจริงแสดงว่าประโยคตั้งต้นเป็นจริง ถ้ามีอย่างน้อยหนึ่งกรณีเป็นเท็จแสดงว่าประโยคตั้งต้นเป็นเท็จ วิธีนี้ใช้กับการพิสูจน์ที่สามารถแบ่งเงื่อนไขได้หลายกรณี


คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถตอบกลับโพสต์นี้ได้ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้